รู้จักดิน รู้จักใช้ปุ๋ยทางรอดชาวนาไทย

ซึ่งทำการทดลองปลูกข้าว162 แปลงในเขตชลประทานภาคกลางในปี2549 และ2550 พบว่าชาวนาควรลดปริมาณการใช้ปุ๋ย เอ็น และพี ลงร้อยละ65 และ43 ตามลำดับแล้วหันไปใช้ปุ๋ยเค เพิ่มขึ้นร้อยละ48 ของปริมาณธาตุอาหารพืชชนิดนั้นๆที่เกษตรกรใช้อยู่ซึ่งการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ สั่งตัด ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีที่ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ย 35,000 ล้านบาทต่อปีลงร้อยละ 47 คิดเป็นค่าปุ๋ย370 บาทต่อไร่ต่อฤดูการเพาะปลูกหรือลดลงจาก 800 บาทเหลือ 430 บาทผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 หากปลูกข้าวชลประทาน15 ล้านไร่จะช่วยประหยัดได้ปีละมากกว่า 11,000 ล้านบาทถ้าเกษตรกรใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพจะลดค่าปุ๋ยเคมีได้ 8,000-10,000 ล้านบาทต่อปีขณะที่ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 แถมยังช่วยลดปัญหาโรคและแมลงได้อีกด้วย

ใครอยากเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวไร่ชาวนาไทยอาชีพชาวนา รวมไปถึงหนทางรอดของชาวนาไทย สามารถเข้าร่วมงาน วันชาวนาไทย ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติคลองหลวง ปทุมธานี วันที่ 29 เมษายน-3 พฤษภาคมสนใจการใช้ปุ๋ยแบบสั่งตัด หาได้ในโปรแกรม SimRice เว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th (หรือ www.ssnmthai.com ในปัจจุบัน) สอบถามได้ที่ภาควิชาปฐพีวิทยาคณะเกษตร มก. โทร.02-942-8104-5

ชุลีพร อร่ามเนตร

นสพ.คมชัดลึก 27 เมษายน 2551

นอกจากจะเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปฐมพีวิทยาคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ แล้ว ศ.ดร.ทัศนีย์ยัง เป็นหัวหน้าทีมประดิษฐ์ชุดตรวจสอบโนโตเจน(N) โพแทสเซียม(P) และฟอสฟอรัส (K) ในดินที่มาของสูตรปุ๋ยเคมีแบบ สั่งตัด โดยทำร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วยมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชนซึ่งปุ๋ยสูตรนี้ เป็นการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ นำข้อมูลชุดดินและข้อมูล เอ็น-พี-เคในดินมาประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรปุ๋ยและกำหนดปริมาณปุ๋ยสำหรับการปลูกพืช

การที่ชาวนาจะอยู่รอดได้ในวิกฤติปุ๋ยแพงต้องให้พวกเขาให้ตระหนักถึงความสำคัญของ ดินเพราะถ้าดินดี ย่อมใช้ปุ๋ยน้อย ต้นทุนการผลิตต่ำ และเร่งส่งเสริมให้ชาวนาผลิกฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของผืนนา สร้างโอกาส บรรยากาศ และปัจจัยจัยเกื้อหนุนให้ชาวนา ยกระดับความรู้ด้านดินและปุ๋ย

ศ.ดร.ทัศนีย์อัตตะนันทน์ บอกทางรอดชาวนาไทยในยุคปุ๋ยแพง