การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

1. ตัวอย่างดินต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่จะตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน 

2. อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด

3. ตัวอย่างดินแต่ละตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอ และขนาดของพื้นที่ ไม่ควรเกิน 25 ไร่ แต่ถ้าพื้นที่มีขนาดใหญ่ ไม่สม่ำเสมอ มีความลาดเทต่างกัน ปลูกพืชต่างชนิดกัน หรือเคยใช้ปุ๋ยต่างกัน ฯลฯ ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อยๆ แล้วเก็บตัวอย่างดิน เพื่อให้ได้ตัวแทนของแต่ละแปลงย่อย (1 ตัวอย่าง 1 แปลงย่อย เก็บดิน 15-20 จุด)

4. การเก็บตัวอย่างดินจะทำเมื่อไรก็ได้ แต่ถ้าปลูกพืชตามฤดูกาล ควรเก็บตัวอย่างดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ได้ข้อมูลธาตุอาหารพืชในดินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

 

อุปกรณ์และวิธีการ

1. อุปกรณ์

2. วิธีการ

   1) แบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อย แล้วกำหนดหมายเลขแปลงย่อยเหล่านั้น

   2) เดินสุ่มเก็บตัวอย่างให้ทั่วในแต่ละแปลงย่อยเก็บตัวอย่างดินในแต่ละแปลงย่อย 15-20 จุด

   3) การเก็บตัวอย่างดินแต่ละจุด ใช้พลั่วหรือจอบขุดดินเป็นหลุม รูปคมขวาน หรือรูปลิ่ม ลึกประมาณ 15 ซม. ใช้พลั่วแซะดินด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 ซม. ลึก 15 ซม. ตัวอย่างดินที่ได้นี้เป็นดิน 1 จุด แล้วใส่รวมกันในกระป๋องพลาสติก สำหรับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เก็บดินที่ความลึก 0-15 และ 40-50 ซม.

   4) คลุกเคล้าดินในกระป๋องให้เข้ากัน เทลงบนผ้าพลาสติก คลุกเคล้าดินให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง 

กองดินเป็นรูปฝาชี แบ่งดินออกเป็น 4 ส่วน เก็บดินไว้เพียงส่วนเดียว ให้ได้ดินหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม สำหรับใช้ในการวิเคราะห์

   5) ถ้าดินเปียก ตากในที่ร่ม แล้วบดให้ละเอียดเก็บใส่ถุง และเขียนหมายเลขกำกับไว้