บทความ 2

50. การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (26/08/55)

ตัวอย่างดินต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่จะตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด ตัวอย่างดินแต่ละตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอ และขนาดของพื้นที่ ไม่ควรเกิน 25 ไร่

(รายละเอียด...)

49. เกษียณสองรอบ

โดย นสพ.ไทยโพสต์ (06/02/55)

อายุเป็นเพียงตัวเลข (สมมติ) หากบอกว่าวัยเท่าโน้น เท่านี้ แต่ใจยังสั่งมา สั่งให้ทำตัวสดชื่น หน้าตาก็จะสดใส ไม่มีใครทายถูกว่าวัยเป็นเท่าใดกัน เพราะล้วนเข้าวัย ยัง "ยังแอทฮาร์ด"

(รายละเอียด...)

48. เจ้าแม่ปุ๋ยสั่งตัด

โดย นสพ.ไทยโพสต์  (02/02/55)

เป็นเด็กเรียนดี ที่อยากเป็นคุณหมอ แต่ติดเกษตรศาสตร์ จึงนับเป็นโชคดี ที่เรียนแล้วชอบ กลายเป็นเด็กวิทยาศาสตร์ ที่มาช่วยคิดระบบให้พี่น้องเกษตรกรได้อย่างเหมาะเจาะ

(รายละเอียด...)

47. ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ด้วยปุ๋ยสั่งตัด

โดย ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 101 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2555 (01/01/55)

สิ่งที่เราไปบอก ไปสอน ไปเหนื่อย แล้วทำให้เกษตรกรเหล่านั้นได้รับประโยชน์ ถึงแม้จะเพียงนิดเดียว ก็ทำให้เรารู้สึกมีความสุขมาก 

(รายละเอียด...)

46. ปุ๋ยสั่งตัด รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สกว. ประจำปี 2554

โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (26/01/55)

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดพิธีมอบโล่เกียรติยศผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2554 รางวัลรับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประเภทกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” เพื่อลดต้นทุน

(รายละเอียด...)

45. ปุ๋ยสั่งตัดแบบจำลองพัฒนาคำแนะนำเพื่อความแม่นยำ

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/01/55)

คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกร ทั้งๆ ที่เกษตรกรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ใช้แบบจำลองการปลูกพืชหรือนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง

(รายละเอียด...)

44. แต่งเติมธาตุอาหารพืชด้วย...'ปุ๋ยสั่งตัด' เพื่อลดต้นทุนการผลิต

โดย นสพ.เดลินิวส์ (06/09/54)

ธาตุ อาหารพืช นับเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช แต่ขณะเดียวกันธาตุอาหารในดินจะสูญเสียไปกับผลผลิตพืชที่เก็บเกี่ยวออกไปมากที่สุดด้วยโดยเฉพาะ พื้นที่การเกษตรที่ปลูกพืชติดต่อกันอย่างยาวนาน

(รายละเอียด...)

43. เตรียมพร้อมสู่ 'ปุ๋ยสั่งตัด' ลดต้นทุนการผลิตกันเถอะ

โดย นสพ.เดลินิวส์ (30/08/54)

การใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่า เกษตรกรต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการใช้ปุ๋ยให้ “ถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี” แต่ขณะนี้เกษตรกรไทยเกือบ 100%ไม่มีการตรวจวิเคราะห์เอ็น-พี-เค ในดินก่อนปลูกพืช ทั้งยังใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

(รายละเอียด...)

42. วิกฤติ...ปุ๋ย​แพง คน​ไทย​ใช้​ปุ๋ย​ไม่​คุ้ม​เงิน

โดย นสพ.ไทยรัฐ (26/05/54)

ปุ๋ย​แพง...พืช​ผัก​อาหาร​ใน​การ​ดำรง​ชีวิต​ ต่างๆพลอย​มี​ราคา​แพง​ตาม​ไป​ด้วย ด้วย​ปุ๋ย​เป็น​ปัจจัย​พื้นฐาน​ใน​การ​ผลิต​อาหาร​ทุก​ชนิด ไม่​เว้น​เนื้อ​สัตว์ เพราะ​ต้อง​พึ่ง​ปุ๋ย​เพาะ​ปลูก​พืช​มา​ทำ​อาหาร​เลี้ยง​สัตว์

(รายละเอียด...)

41. โครงการปุ๋ยลดต้นทุน : "จุดเปลี่ยน" การใช้ปุ๋ยเคมีในประเทศไทย

โดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (13/05/54)

ในบรรดาปัจจัยที่ใช้ในการเพาะปลูกพืช เกษตรกรรู้จักดินรู้จักปุ๋ยน้อยที่สุด เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของดิน มีความสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งปุ๋ยเคมีที่ขึ้นทะเบียนเพื่อผลิตขายในท้องตลาดมีเกือบ 800 สูตร

(รายละเอียด...)

40. เกษตรยุคใหม่: ลดต้นทุนปุ๋ยในข้าวโพด

โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ นสพ.คมชัดลึก (05/04/53)

ต้นทุนในการผลิตข้าวโพดของหลายอำเภอในพิษณุโลก ที่พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งเป็นต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี หากปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปก็มีแต่จะขาดทุน พอดี สกว. เคยสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยในข้าวโพดตามค่าการวิเคราะห์ดินและตามความต้องการของข้าวโพดในดินแต่ละชนิด

(รายละเอียด...)

39. ทางรอดของชาวนาไทย

โดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (25/12/52)

ทางเลือกใหม่ที่ชาวนาไทยทำได้จริง  ผ่านการปฏิบัติแล้วในหลายจังหวัด ทั้งวิธีคิด วิธีปฏิบัติ ความแตกต่างระหว่างการใช้ปุ๋ยข้าวแบบเสื้อโหลและสั่งตัด พบสาระหลักคิด หลักวิชา หลักปฏิบัติ ตัวอย่าง ข้อเสนอแนะ 

(รายละเอียด...)

38. พบนักวิจัยปุ๋ยสั่งตัด ฟื้นรายได้เกษตรกรไทย

โดย ไทยรัฐออนไลน์ (11/11/52)

ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ผู้คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภททีมปี 52 มุ่งวิจัยใช้ในมันสำปะหลังหลังสำเร็จในข้าว ข้าวโพด อ้อย วอนเกษตรจ.ช่วยสานต่อ ตั้งเป้าเกษตรกรไทยรวย... 

(รายละเอียด...)

37. กว่าจะมาเป็นปุ๋ยสั่งตัด (2)

โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ นสพ.คมชัดลึก (26/10/52)

คราวที่แล้วได้เล่าให้ฟังว่าผลงานวิจัยของ ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ซึ่งทำเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องในข้าวโพด และนาข้าว จนกระทั่งได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี 2552 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ 

(รายละเอียด...)

36. กว่าจะมาเป็นปุ๋ยสั่งตัด (1)

โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ นสพ.คมชัดลึก (19/10/52)

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการตัดสินรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี 2552 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในโอกาสการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 35

 (รายละเอียด...)

35. ก่อนตายอยากเห็นเกษตรกรรวยขึ้น วาทะนักเทคโนโลยีดีเด่น 52

โดย ผู้จัดการออนไลน์ (12/10/52)

ตัวแทนกลุ่ม "ปุ๋ยสั่งตัด" ผู้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น '52  เผยความในใจ ก่อนตายอยากเห็นเกษตรกรรวยขึ้น" เผยเกษตรกรไทยยังไม่รู้จักปุ๋ยและดิน แจงอบรมให้ความรู้เกษตรกรเพื่อการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับดิน

(รายละเอียด...)

34.ปุ๋ยสั่งตัด รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี พ.ศ.2552

โดย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ (12/10/52)

ประวัติความเป็นมา บุคคลากรกลุ่มวิจัย กรอบแนวความคิด จุดเด่นของกลุ่มเทคโนโลยี ขั้นตอนการใช้ปุ๋ยสั่งตัด ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

(รายละเอียด...)

33. "ปุ๋ยสั่งตัด" ช่วยเกษตรกรได้อย่างไร?

โดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (02/10/52)

“การเกษตรเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสยศาสตร์” ทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกันและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีนั่น เพราะมีนี่ ทำสิ่งนั้น จึงเกิดสิ่งนี้ จึงต้องไม่คิดแบบแยกส่วน หรือคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว เพราะหนึ่งผลมาจากหลายเหตุ ต้องคิดอย่างเป็นระบบให้เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม 

(รายละเอียด...)

32. ปุ่ยสั่งตัด เพิ่มกำไรให้ชาวนาภาคอีสานถึง 10 เท่า

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/09/52)

ประเทศไทยมีพื้นที่ทำนา 57 ล้านไร่ เฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 33 ล้านไร่ การทำนาเขตนี้มีอุปสรรคหลายประการ เช่น การกระจายของฝนไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ทั้งๆ ที่ปริมาณน้ำฝนทั้งหมดไม่น้อยกว่าภาคอื่นของประเทศ

(รายละเอียด...)

31. ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวไร่อ้อย

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/08/52)

การใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือการจัดการธาตุอหารพืชเฉพาะพื้นที่ เป็นการวิจัยที่นำข้อมูลชุดดิน ข้อมูล เอ็น-พี-เค ในดินมาประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรปุ๋ย และกำหนดปริมาณปุ๋ยในการปลูกพืช

(รายละเอียด...)

30. สานโครงการปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวอุบลราชธานี

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/07/52)

หลังจากที่ชาวนาหลายกลุ่มในภาคกลางได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสั่งตัดในการผลิตข้าว ซึ่งช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยลงได้มาก ขณะที้ทีมวิจัยคณะเดิมยังคงดำเนินการขยายผลต่อไปในพื้นที่เขตอื่นๆ

(รายละเอียด...)

29. ดินดีหรือดินเลว จะดูได้อย่างไร

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/06/52)

ดินเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุด แต่เกษตรกรรู้จักน้อยที่สุด ทั้งๆ ที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ จึงเป็นเป็นทุนที่สำคัญยิ่งในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

(รายละเอียด...)

28. แนวทางการลดต้นทุนการผลิตข้าวของชุมชน

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/06/52)

การลดต้นทุนการผลิตข้าวจากโครงการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนของกลุ่มชาวนา ต.เจดีย์หัก จ.ราชบุรี ที่ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาเรียนรู้จนกระทั่งสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวได้มาก

(รายละเอียด...)

27. การใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว

โดย วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน (15/04/52)

"การใช้ปุ๋ยสั่งตัด เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว" เป็นอีกหนึ่งหัวข้อการบรรยายในการเสวนาเชิงวิชาการเกษตรและประสบการณ์ ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง" ซึ่งนิตยสารเทคโนโลยีบ้าน จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

(รายละเอียด...)

26. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และไม้ยืนต้น

โดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (13/04/52)

ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมี เพิ่มขึ้นร้อยละ 65 จาก 2.6 ล้านตันในปี 2543 เป็น 4.3 ล้านตัน ในปี 2550 ขณะที่ผลผลิตต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจเพิ่มไม่มากนัก และต้นทุนการผลิตเป็นค่าปุ๋ยเคมีสูงถึงร้อยละ 25 ดังนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีให้ "ถูกสูตร ถูกปริมาณ ถูกเวลา ถูกวิธี" จึงเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

(รายละเอียด...)

25. “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยลดต้นทุนการผลิต

โดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (13/08/52)

ในยุคเศรษฐกิจทุนนิยม เกษตรกรต้องแข่งขันทั้งด้านราคาและคุณภาพ จึงควรเร่งพัฒนาตนเองให้เป็น “มืออาชีพ” เร็วที่สุด คือ ทำการเกษตรอย่างมีเป้าหมายชัดเจน มีหลักคิดที่ถูกต้อง รวมทั้งใช้ข้อมูลและความรู้ประกอบการตัดสินใจในทุกๆ ขั้นตอน 

(รายละเอียด...)

24. กองทุนปุ๋ยสั่งตัดเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (10/12/51) 

มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลงานวิจัยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร จึงได้จัดตั้งกองทุนปุ๋ยสั่งตัดเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2551

(รายละเอียด...)

23. พลิกโฉมวิถีชีวิตชาวนาในยุคปุ๋ยแพง

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/10/51)

ควรเร่งพัฒนาให้ชาวนาเป็นมืออาชีพเร็วที่สุด ด้วยการวางเป้าหมายให้ชัดเจน มีหลักคิดที่ถูกต้อง ใช้ข้อมูล ความรู้ ความรอบคอบในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อให้ชาวนาจะอยู่รอดในภาวะปุ๋ยเคมีแพง

(รายละเอียด...)

22. ปุ๋ยสังตัด ฉีกกฏหว่านปุ๋ยทิ้ง ใช้ปุ๋ยตรงพืช ตรงดิน ลดต้นทุน

โดย นสพ.ข่าวสด (15/09/51)

เมื่อร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องบริโภคอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ... ผืนดินก็เช่นเดียวกัน มันจำเป็นต้องมีธาตุอาหารคอยหล่อเลี้ยงเพื่อบำรุงโครงสร้างให้อยู่ในสภาพดี และเพื่อทดแทนธาตุอาหารที่ถูกพืชดูดดึงไปใช้ 

(รายละเอียด...)

21. การแก้ปัญหาราคาปุ๋ยแพง

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (05/08/51)

ถึงแม้ในปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้นมาก แต่ปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยเคมี มีราคาสูงขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าหลายเท่า ทำให้ต้นทุนมีราคาสูงขึ้น เมื่อปัจจัยการผลิตมีราคาสูงก็ก่อให้เกิดการปลอมแปลงวัสดุต่างๆ โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี 

(รายละเอียด...)

20. เกษตรยุคใหม่ - ให้ปุ๋ยแบบสั่งตัด

โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ นสพ.คมชัดลึก (19/05/51)

ยุคที่ปุ๋ยแพงอย่างวันนี้ ก็เลยมีหลายหน่วยงานออกมาทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่างๆ เพื่อเป้าหมายในการลดอัตราการใช้ปุ๋ยลง มีทั้งแบบที่เอาผลงานเก่าๆ หลายปีมาแล้วมาปัดฝุ่นใหม่ มาแนะนำเพื่อให้ไม่ตกกระแส แต่ทั้งหมดนี้ ไม่น่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง

(รายละเอียด...)

19. คิดและทำอย่างไรการเกษตรไทยจึงก้าวไกลอย่างมั่นคงยั่งยืน

โดย ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (18/05/51)

การพัฒนาการเกษตรควรมองปัญหาอย่างเป็นองค์รวม การคิดแบบแยกส่วนเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หลายครั้งเป็นการย้ายปัญหา และสร้างปัญหาที่แก้ไขได้ยากขึ้นในระยะยาว

(รายละเอียด...)

18. การใช้ปุ๋ยยางอย่างคุ้มค่า

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/05/51)

การลดต้นทุนการผลิตยางควรเริ่มตั้งแต่การปลูกสร้างสวนยาง จากเลือกพื้นที่ เตรียมพื้นที่ เลือกพันธุ์ยาง วิธีการปลูกและการจัดการสวน เพื่อให้เปิดกรีดยางได้เร็วขึ้น ไปจนถึงการดูแลรักษาสวนยางหลังเปิดกรีด การกรีดยางและการจัดการผลผลิตน้ำยาง

(รายละเอียด...)

17. ปุ๋ยสั่งตัด แก้ปัญหาปุ๋ยแพงที่ต้นเหตุ

โดย ดร.ประทีป  วีรพัฒนนิรันดร์ (15/05/51)

เกษตรศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ไสยศาสตร์ การเกษตรของประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคทำมาค้าขายแล้ว จึงจำเป็นต้องเป็นเกษตรกรมืออาชีพ ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ความรู้ และความรอบคอบ ถ้าไม่รู้จักดิน ไม่รู้จักปุ๋ย จะปรับปรุงบำรุงดินหรือใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

(รายละเอียด...)

16. รู้ดิน-รู้จักใช้ปุ๋ยทางรอดชาวนาไทย

โดย ชุลีพร อร่ามเนตร นสพ.คมชัดลึก (27/04/51)

การที่ชาวนาจะอยู่รอดได้ในวิกฤติปุ๋ยแพงต้องให้พวกเขาให้ตระหนักถึงความสำคัญของ ดินเพราะถ้าดินดี ย่อมใช้ปุ๋ยน้อย ต้นทุนการผลิตต่ำ และเร่งส่งเสริมให้ชาวนาผลิกฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของผืนนา

(รายละเอียด...)

15. ทางรอดของชาวนาไทยในยุคปุ๋ยแพง

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (22/04/51)

หลักคิดสำคัญ คือ พืชทุกชนิดเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงเมื่อเกษตรกรสามารถจัดการให้เกิด “ความลงตัวพอดี” ระหว่างพันธุ์พืชกับปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดิน ปุ๋ย น้ำ แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น วัชพืช โรคแมลงศัตรูพืช ฯลฯ  

(รายละเอียด...)

14. ปฏิวัติการใช้ปุ๋ย 

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (01/04/51)

นโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีนั้นไม่เหมาะสมกับการเกษตรของไทย เรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยได้ถูกนำขึ้นมาพูดคุยกันอีกครั้งโดยใช้เวทีที่มีทั้งเกษตรกร นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องเปิดเวทีสาธารณะ

(รายละเอียด...)

13. มาช่วยกันพลิกโฉมการทำนาในยุคปุ๋ยแพง

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/03/51)

ยุคทุนนิยมแข่งขันเสรีเป็นยุคทองของคนที่เข้มแข็ง คนอ่อนแอจะอยู่อย่างยากลำบาก เป็นยุคที่เกษตรกรต้องแข่งขันทั้งในด้านราคาและคุณภาพของผลผลิต จึงควรเร่งพัฒนาให้เป็นมืออาชีพเร็วที่สุด

(รายละเอียด...)

12. ชาวนากลุ่มสำนักตะค่าพัฒนากับความสุขในอาชีพ

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/01/51)

สรุปง่ายๆ ว่าชีวิตของพวกเราดีขึ้นแค่ไหน จากที่เคยทำนาลงทุนสองส่วน กว่าจะได้กำไรสักหนึ่งส่วนยังยาก แต่ ณ วันนี้ลงทุหนึ่งส่วนได้กำไรสองส่วน ถือเป็นความพึงพอใจที่ดียิ่ง มีกิน มีเก็บ มีใช้ ยามเจ็บไข่ไม่เดือนร้อน ได้พึ่งพาตัวเอง

(รายละเอียด...)

11. ทำนาต้นทุนต่ำด้วยการจัดการธาตุอาหาร

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/10/50)

ชาวนาเป็นอาชีพที่นับวันจะหาลูกหลานสานต่อยาก พื้นที่นนาแต่ละแห่งจึงเต็มไปด้วยผู้สูงวัย หรือชาวนาเถ้าแก่ วันนี้ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นยุคไร้เคียว

(รายละเอียด...)

10. เกษตรยั่งยืนกับแหล่งที่มาของธาตุอาหารในดิน 

โดย ศ.ดร.สรสิทธิ์ วัชโรทยาน (22/08/50)

ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชมี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พันธุกรรมเป็นลักษณะที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่พันธุ์ ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้นประกอบด้วยสิ่งที่อยู่รอบตัวพืช ซึ่งเป็นทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต  

(รายละเอียด...)

9. ดินคือรากฐานของสังคมไทย

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (01/08/50)

พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีต่อเมื่อพันธุ์พืชนั้นเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ( ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ) รวมทั้งเกษตรกรมีความสามารถในการจัดการทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง ( ปุ๋ยและยาฆ่าโรค-แมลง-ศัตรูพืช) ได้อย่างลงตัว  

(รายละเอียด...)

8. ความสำเร็จของการใช้ปุ๋ยสั่งตัด

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

ตัวอย่างแรกของความสำเร็จของโครงการ “ การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ในการเพิ่มมาตรฐานชีวิตของเกษตรกร เมื่อปี 2544 กรมส่งเสริมการเกษตรได้สนับสนุนให้นักวิจัยของโครงการวิจัยฯ อบรมเกษตรกร 200 คน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 200 คน จาก 10 จังหวัด  

(รายละเอียด...)

7. ดิน ทรัพยากรธรรมชาติที่ควรบำรุงรักษา

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

ดินเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ ผสมกับซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมกันเป็นเวลาหลายล้านปี ดินหลังจากเปิดป่าใหม่จะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ดี เมื่อใช้ดินทำการเพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน ดินจะมีสภาพเสื่อมโทรมลง ธาตุอาหารหรือปุ๋ยเดิมในดินจะหมดไป  

(รายละเอียด...)

6. ปุ๋ย สารประกอบที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

ปัจจุบันมีความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าปุ๋ยยังไม่ถูกต้องครบถ้วนนัก ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะแนวความคิดที่ชักนำให้เข้าใจกันผิดๆ ว่าปุ๋ยเคมีเป็นสารประเภทเดียวกับสารกำจัดศัตรูพืช จึงก่อให้เกิดกระแสสังคมที่ต้านการใช้ปุ๋ยเคมี 

(รายละเอียด...)

5. การผลิตอ้อยในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/12/48)

ัฐฟลอริดาเป็นแหล่งปลูกอ้อยใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ปลูกประมาณ 1.1 ล้านไร่ และประมาณ 99% เป็นอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล ส่วนที่เหลือเก็บไว้ใช้เป็นท่อนพันธุ์

(รายละเอียด...)

4. การผลิตข้าวนาชลประทานที่รัฐแคลิฟอร์เนีย

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/10/48)

การปลูกข้าวในสหรัฐอเมริการทำได้เพียงปีละ 1 ครั้ง เพราะอากาศหนาวมากในฤดูหนาวรัฐแคลิฟอร์เนียอยู่ในระดับสูงเท่ากับปักกิ่งประเทศจีน ต้นทุนการผลิตข้าวประมาณ 10 บาทต่อกิโลกรัม และราคาขาย 11.50 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 16-20 ตัน/ไร่

(รายละเอียด...)

3. ชุดตรวจสอบปุ๋ยตกค้างในน้ำ

โดย นสพ.คมชัดลึก (04/10/47)

เมื่อก่อนเคยได้ยินว่าผงซักฟอกที่ขายในเมืองไทย เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย เพราะว่ามีสารประกอบฟอสเฟตตกค้างสูง ผลที่ตามมาก็คือผู้ผลิตผงซักฟอกต่างก็เปลี่ยนสูตรของตัวเองกันใหม่

(รายละเอียด...)

2. การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่สำหรับข้าวโพด

โดย ประชาคมวิจัย (15/03/46)

ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศ ข้าวโพดที่ผลิตได้ส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์พื้นที่ที่ปลูกข้าวโพดทั้งประมาณมีประมาณ 10 ล้านไร่ แหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญของประเทศอยู่ใน จ.ลพบุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา

(รายละเอียด...)

1. การผลิตข้าวโพดที่สหรัฐอเมริกา

โดย วารสารเคหการเกษตร (15/10/45)

ได้พบกับผู้แทนบริษัท ไพโอเนียร์ จำกัด ที่สถาบันวิจัย Johnston บริษัทนี้มียอดการขายสูงถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี มีงบประมาณสำหรับวิจัย 250 ล้านเหรียญต่อปี มีส่วนแบ่งตลาดเมล็ดข้าวโพด 40% และถั่วเหลือง 20%

(รายละเอียด...)