เกษตรกรตัวอย่าง

10. ศิริพร  สุปัญญาพาณิชย์  เกษตรกรตำบลบ้านลำ จ.สระบุรี

โดย ดร.ประทีป  วีระพัฒนนิรันดร์ (1/03/61)

มีพื้นที่ทำนา 20 ไร่ เป็นผู้นำเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” มาทดลองใช้ตั้งแต่ปี 2557 เพื่อลดต้นต้นทุนการผลิต พบว่า ประหยัดค่าปุ๋ยได้ไร่ละ 500 บาท ต่อฤดูปลูก ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก  60 เป็น 80 ถังต่อไร่ และปุ๋ยสั่งตัดทำให้ลดค่าใช้จ่ายการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อีกไร่ละ 300 บาท เนื่องจากเราได้ใส่ปุ๋ย “ถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี”

(รายละเอียด...)

9. สำรวม ยอดเศรณีย์  เกษตรกรปลูกข้าวโพด จ.นครราชสีมา

โดย หนังสือข้าวเศรษฐกิจ (25/12/55)

เกษตรกรที่ได้รับการฝึกอบรมปุ๋ยสั่งตัดกับข้าวโพดตั้งแต่ปี 2544 ลดต้นทุนได้ไร่ละ 400-500 บาท ผลผลิตก็ชัดเจน และไม่เจอปุ๋ยปลอม จากที่เมื่อก่อนทำการเกษตร สะสมหนี้สินตลอด การใช้ปุ๋ยก็ใช้ตามเพื่อนบ้าน ผลผลิตที่ได้ออกมาไม่มีคุณภาพ หลังจากได้มาศึกษาการใช้ปุ๋ยสั่งตัด ทำให้เหมือนเจอชีวิตใหม่

(รายละเอียด...)

8. ร่ม วรรณประเสริฐ  ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลห้วยขมิ้น จ.สระบุรี

โดย ผอ.วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ (12/11/55)

ประธานศูนย์ข้าวชุมชนตำบลห้วยขมิ้น เป็นผู้นำเทคโนโลยี "ปุ๋ยสั่งตัด" มาทดลองใช้ในปี 2552 ปัจจุบันขยายผลการไปยังตำบลอื่นๆ ในจังหวัดสระบุรี ขณะนี้มีสมาชิกประมาณ 85 ราย สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 700-800 บาทต่อไร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 30 %

(รายละเอียด...)

7. พิชิต เกียรติสมพร  ทางรอดชาวนาอยู่ที่ผลกำไรหรือรายเหลือ

โดย หนังสือข้าวเศรษฐกิจ (20/10/55)

เกษตรกรหลายคนคิดว่าการใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด” มีความยุ่งยาก แต่คุณพิชิตชาวนา จ.สุพรรณบุรี บอกว่าไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด และย้ำว่าการลดต้นทุนการผลิตเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเกษตรกรต้องมีความรู้อย่างครบถ้วนในการทำนา 

(รายละเอียด...)

6. สุภาพ โนรีวงศ์  เกษตรกรปลูกข้าว จ.ฉะเชิงเทรา

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

จุดเปลี่ยนแปลงในการทำนา จากต้นทุนการปลูกข้าวก่อนเข้าร่วมโครงการ 4.50 บาท / กก. ขาย 5-6 บาท/กก. ต้นทุนการปลูกข้าวหลังเรียนรู้ 3.25 บาท / กก. ขาย 11 บาท/กก. ต่อจากนี้ไปต้องลดต้นทุนให้เหลือ 2.50 บาท / กก. นี่คือเกษตรกรผู้นำอีกคนหนึ่งที่อยากให้ทุกคนรู้จัก

(รายละเอียด...)

5. สละ นิรากรณ์  เกษตรกรปลูกข้าวโพด จ.สระบุรี

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

ก่อนเข้าร่วมโครงการเป็นหมอดินอาสา เป็นแกนนำในการเผยแพร่วิธีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้กับเกษตรกรตำบลพุคำจานทั้งตำบล และได้เริ่มถ่ายทอดไปแล้ว 4 หมู่บ้าน เป็นแกนนำในการรวมกลุ่มเพื่อจัดหาแม่ปุ๋ยมาผสมปุ๋ยใช้เอง

(รายละเอียด...)

4. ประจักร ศรีประเสริฐ  เกษตรกรปลูกอ้อย จ.ขอนแก่น

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

เข้าร่วมโครงการฯ เพียง 1 ปี เขามีพื้นที่ปลูกอ้อยเพียง 60 ไร่ แต่ขณะนี้ได้รับจำนองมาอีก 55 ไร่ รวมเป็น 115 ไร่ ได้มีการเปลี่ยนแปลงชีวิต และฐานะ ได้เรียนรู้หลักคิดต่างๆ มีการปรับความคิดมากมาย

(รายละเอียด...)

3. ประคอง ปิ่นวิเศษ  เกษตรกรปลูกข้าวโพด จ.ลพบุรี

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

ก่อนปี 2544 มีหนี้สิน สิ้นหวังและไม่อยากมีชีวิตอยู่ หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ในช่วง 2545-2547 คุณประคองหมดหนี้สิ้น และมีเงินออมในธนาคาร ได้แบ่งพื้นที่เพื่อปลูกพืชอื่น นอกจากข้าวโพด และมีการปลูกข้าวโพดเป็นช่วงๆ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

(รายละเอียด...)

2. กฤชพัฒน์ ศรีทรงเมือง  เกษตรกรปลูกข้าวโพด จ.เพชรบูรณ์

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

เป็นเกษตรกรคนหนึ่งในจำนวน 200 คนที่ได้รับการฝึกอบรม ในปี 2544 มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 300 ไร่ จากการเข้าร่วมโครงการ สามารถผลิตข้าวโพดได้ 1.2 ตัน/ไร่ จากที่เคยผลิตเดิม 600 กก./ไร่

(รายละเอียด...)

1. สัมพันธ์ เย็นวารี  เกษตรกรปลูกข้าวโพด จ.นครราชสีมา

โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ (25/01/50)

เราได้ประชุมกับเกษตรกรช่วงปี 2545-2547 คุณสัมพันธ์ ไม่เคยขาดการประชุมแม้แต่ครั้งเดียว เพราะว่าได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายจากการประชุม เขาขี่มอเตอร์ไซต์ จากบ้านที่วังน้ำเขียวมาประชุมที่ศูนย์วิจัยข้าวโพด ข้าวฟ่างแห่งชาติ ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลมากในครั้งแรกๆ ของการประชุม

(รายละเอียด...)